อยากให้รีบวางแผนเกษียณกันแต่เนิ่นๆ


จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า คนไทยวัยเกษียณส่วนใหญ่มีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

นี่เราพูดถึงคนที่โชคดีสามารถทำงานจนเกษียณนะครับ เพราะสมัยนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน เรื่องนี้คือสัจจะธรรมของชีวิต เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราจะมีงานทำอยู่ได้อีกนานแค่ไหน จะโดนเขาเตะออกเมื่อไหร่ 

ดังนั้นการวางแผนเกษียณจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และแน่นอนว่าหากเราเริ่มต้นไว ชีวิตก็จะง่ายขึ้นอีกหลายเลย แต่หากเราอายุเยอะแล้ว เข้าบั้นปลายชีวิตการทำงาน แล้วเรายังไม่มีเงินเก็บมากพอ อันนั้นชีวิตจะเริ่มยากละ


ทีนี้เรามาเริ่มจากคนอายุน้อยก่อนละกันครับ สมมติว่าเราเริ่มเก็บเงินตั้งแต่อายุ 25 โดยเก็บเดือนละ 2,000 บาท และบังเอิญว่าเราวางเงินถูกที่ได้เงินดอกเบี้ย 7% ทุกปี มาดูกันว่าอีก 25 ปี เงินที่ฝากจะเป็นกี่บาทกัน แล้วเราจะได้เห็นพลังของดอกเบี้ยทบต้นกันล่ะ

= ผลตอบแทนจะได้รับในรูปแบบของเงินปันผล และส่วนต่างราคาหุ้น โดยผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 8 – 12% ต่อปี = ข้อมูลจากเว็บ Finnomina

สูตรคำนวณดอกเบี้ยทบต้นคือ

เงินรวมดอกเบี้ยในงวดสุดท้าย = เงินต้น x (1 + อัตราดอกเบี้ย%) ยกกำลังจำนวนงวด

จากโจทย์มีข้อมูลดังนี้

เงินต้น = 2,000 บาทต่อเดือน

อัตราดอกเบี้ยทบต้น = 7% ต่อปี = 0.07 ต่อเดือน

จำนวนงวด = 35 ปี x 12 เดือน/ปี = 420 งวด

จึงคำนวณหาเงินรวมดอกเบี้ยในงวดสุดท้ายได้ดังนี้

เงินรวมดอกเบี้ยในงวดสุดท้าย = 2,000 x (1 + 0.07) ยกกำลัง 420

เงินรวมดอกเบี้ยในงวดสุดท้าย = 2,000 x 1.07 ยกกำลัง 420

เงินรวมดอกเบี้ยในงวดสุดท้าย = 10,000,652.09 บาท

ดังนั้น เงินต้น 2,000 บาทต่อเดือน ลงทุนเป็นระยะเวลา 35 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้นคงที่ 7% ต่อปี จะได้เงินรวมดอกเบี้ยในงวดสุดท้ายเป็นจำนวน 10,000,652.09 บาท

หมายเหตุ

การคำนวณนี้เป็นการคำนวนดอกเบี้ยทบต้นแบบรายเดือน ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างจากการคำนวนดอกเบี้ยทบต้นแบบรายปีเล็กน้อย

นี่ไงหากเราเก็บแค่ 2,000 บาทต่อเดือน 25 ปี เราจะมีเงินสูงถึง 10ล้านบาท ก็น่าจะทำให้เราเกษียณได้สบายอยู่นะครับ


ทีนี้มาดูกันว่าสำหรับคนที่อายุมากแล้ว แต่ยังไม่มีเงินสำหรับเกษียณ เราจะทำยังไงดี

สมมติว่าเราอายุ 45 ปี 

1) ก่อนอื่นเราคงต้องมาคาดการณ์ดูว่า เราจะมีชีวิตอยู่อีกกี่ปี  อ่ะ... เอาเป็นว่าเราอยู่ถึงสัก 80 ปีละกัน นั่นคือเราจะต้องใช้ชีวิตอีก 35 ปีต่อจากนี้เลยนะ 

2) ทีนี้ก็มาดูกันว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเป็นเท่าไหร่ 

+ ค่ากิน ค่าที่พักอาศัย
+ ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน
+ ค่ารักษาพยาบาล เมื่ออายุมากขึ้นสุขภาพเราจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ตอนอยู่กับบริษัท เราป่วย เราไป รพ. มีประกันกลุ่มช่วย แต่หลังเกษียณ คือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แล้วนะครับ
+ ค่าซ่อมบ้าน ค่าซ่อมรถ
+ ค่าประกัน

3) เรามีเงินเก็บเท่าไหร่ 

4) เรามีอะไรที่สามารถทำเงินให้เราอยู่บ้าง เช่น เงินปันผล, เงินจากการเทรด หรือ งานจ้างในฐานะที่ปรึกษา เป็นต้น

เอาล่ะ สมมติกันแบบลอยๆเลยนะว่าเรามีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้เลยคือ 70,000 บาทต่อเดือน และต้องใช้มันอีก 35 ปี คิดเป็นเงินที่ 2,450,000 บาท แถมเคราะห์ซ้ำกรรมซัด โดนเตะออกจากงานด้วย 

คำถามคือ เราจะหาเงินก้อนนั้นมาจากไหนครับ คือถ้าเราสามารถหาได้ เราคงหามาได้นานละเนาะ  อ่อใจดีให้สักหน่อย สมมติเพิ่มว่าเรามีเงินเก็บอยู่ 100,000 บาท 

จากโจทย์ชีวิตข้างบนนี้ เราคงไม่สามารถหาเงินก้อน 2,350,000 บาท มาได้แน่ๆ ถูกมั้ยครับ ทีนี้เราจะต้องทำยังไงดีล่ะ ทางออกเดียวที่เรามีคือ เราต้องหารายได้ให้ถึง 70,000 บาทต่อเดือน

สิ่งที่เราสามารถทำได้

1) นั่งเทรดเลี้ยงชีพ ข้อนี้ดูเป็นไปได้มากที่สุดนะ แต่ก็ต้องผ่านการศึกษา และการฝึกหัดอย่างหนักหน่วงมาก อย่าไปเชื่อเวลาได้ยินใครบอกว่าเทรดง่ายๆ มันโกหกครับ

2) หาเงินออนไลนในรูปแบบต่างๆ (ที่ทำได้จริง ไม่ใช่มิจ) ไม่ว่าจะเป็นจากการโฆษณา จากการเป็นนายหน้า และอื่นๆ

3) ขับ Grab หากรถเป็น Hybrid หรือ รถไฟฟ้า เพราะถ้าเป็นน้ำมันเบนซินอาจจะไม่คุ้ม

ที่บอกไว้ข้างบน ไม่ใช่ว่าเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งนะ เราควรทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราทำได้เลย เพราะเราไม่มีแต้มบุญที่สูง เราเลยต้องมาใช้กรรมเอาตอนนี้แหละ และระหว่างทาง ไม่ใช่ว่าหาเงินได้แล้วเอามาใช้หมดนะ เก็บเอาไปลงทุนบ้าง อย่างน้อยถึงช่วงที่เราเข้าสู่วัยชราแบบเต็มตัว สิ่งที่เราทำได้ก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ เราก็จะได้ยังมีเงินจากการลงทุนปันผลมาให้เราได้อยู่

หากใครเจอปัญหาการหาเงินอยู่ และอยากมีเพื่อนคุย หรือปรึกษา แอดไลน์มาได้เลยครับที่ @npmestory หรือ https://lin.ee/29EAxNz

Comments