Key Success Factor of Digital Music Episode 1

ทำอย่างไรให้คน (ไทย) หันมา ดาวน์โหลด (Download) เพลงอย่างถูกกฎหมาย

สวัสดีครับเพื่อนๆ สบายดีกันรึเปล่าครับ หวังว่าคงสบายดีกันทั่วหน้า หลังจากที่เขียน Blog เกี่ยวกับเรื่อง Is it the end of physical product (CD/VCD)?? หรือ จริงหรือที่ตลาดของ CD/VCD (physical product) ถึงกาลอวสาน ก็เริ่มมีคนแวะเข้ามาแสดงความคิดเห็น (comment) กัน ผมดีใจมากครับ ขอบคุณหลายๆครับ แต่ในเวลาเดียวกันมันก็กดดันผมอยู่ระดับหนึ่ง เนื่องจากเนื้อหาที่ผมเขียนไว้นั้นมันออกไปทางวิชาการ(เล็กน้อย) ทำให้ผมต้องเริ่มมาคิดว่าอาทิตย์นี้จะเขียนอะไรดี ผมมาสะดุดที่ความคิดเห็นของคุณ Shisuka หรือ ... (น้องเขาไม่อยากเปิดเผยตัว) เขาเขียนขึ้นมาประโยคหนึ่งที่ว่า “แล้วแบบนี้จะมี CD เพลงวางขายทำไมในเมื่อเขาทำ MP 3 แบบถูกลิขสิทธิ์ออกมาให้โหลด” อันที่จริงผมก็ตอบความคิดเห็นข้อนี้กลับไปเรียบร้อยแล้ว เลยมานึกถึงว่า เอ... ทำไมคน (ไทย) ถึงไม่ยอมมาดาวน์โหลดเพลง (อย่างถูกกฎหมาย) หว่า... ก็เลยเป็นที่มาของหัวข้อในอาทิตย์นี้ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่านะครับ

หลังจากที่ iTunes จากค่าย Apple กวาดรายได้อย่างล้นหลามในธุรกิจเพลงดิจิตอล (Digital Music) ทำให้ผู้ให้บริการทางเว็บไซต์รายใหญ่ๆ ต่างตาร้อนกันเป็นแถวๆ จนต้องกระโดดเข้ามาร่วมวงขอเค้กชิ้นนี้ด้วย ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ Amazon.com ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ e-commerce เอาหล่ะครับเรามาดูตัวเลขกันเล็กน้อยนะครับ



ที่มา: นิตยสาร e.commerce ฉบับ June 2007 Vol.102
ที่มาของที่มา: Strategy Analytics รวบรวมโดย Digitimes เมษายน 2007


เห็นตัวเลขแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ ตัวเลขที่เติบโตแบบก้าวกระโดด เล่นเอาบริษัทเพลงใหญ่ๆ (เจ้าของ content) ในเมืองไทยตาลุกกันเป็นแถวๆ ไม่ว่าจะเป็น RS หรือ GMM ที่ได้ส่ง Mixiclub.com กับ iKeyclub.com ออกมาแย่งชิงเค้กก้อนนี้ และไม่ใช่แค่บริษัทที่เป็นเจ้าของ content เท่านั้นที่เข้ามาแย่งชิงเค้กก้อนนี้ ยังมีบริษัทอื่นๆอีก เช่น ทรู ที่ส่ง True Music ไม่เว้นแม้แต่เว็บพอทัลรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอย่าง Sanook.com ก็ขอมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน แต่คำถามคือในประเทศไทยเค้กก้อนนี้มันใหญ่พอรึเปล่า มันสามารถสร้างเม็ดเงินให้แก่บริษัทเป็นกอบเป็นกำหรือไม่ โดยส่วนตัวนั้นผมคิดว่ายังไม่ถึงจุดนั้นครับ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เรามาช่วยกันคิดดีกว่านะครับว่าปัจจัยใดบ้างที่ทำให้คนหันมาดาวน์โหลดเพลงอย่างถูกกฎหมาย

ผมขอเริ่มด้วยปัจจัยทางด้านข้อจำกัดเรื่องความเร็วของเน็ตเวิร์ก (Network) เพื่อนๆก็คงรู้อยู่แล้วว่าเพลงๆหนึ่งมีขนาดไฟล์ (File) ใหญ่ขนาดไหน ต่อเพลงจะอยู่ประมาณ 3 -4 Mb การโหลดที่เชื่องช้านี้ แน่นอนมันทำให้คนเราหนีไปหาทางอื่นที่เร็วกว่าง่ายกว่า เพื่อนๆอย่าไปคิดว่ามันจะเหมือนนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่านะครับ ที่ว่าช้าๆแต่มีความมั่นคง สำหรับอินเตอร์เน็ตนั้นมันตรงกันข้ามครับยิ่งช้าเท่าไหร่โอกาสจะโหลดไม่สำเร็จก็มีอยู่สูงเท่านั้น ผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนคงรู้ถึงความเร็วของอินเตอร์เน็ต (Internet) บ้านเราเป็นอย่างดี ผมว่าโฆษณาของทรู (True) ทำไว้ได้ชัดนะครับ ที่เปรียบความเร็วของอินเตอร์เป็นเหมือนปลาทองว่ายน้ำ คือมันช้าจริงๆครับ เพื่อนๆทราบมั้ยครับว่าตัวเลขของคนใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยมีอยู่เท่าไหร่ มีอยู่ถึง 6.6 – 6.7 ล้านคน ประมาณ 10% ของประชากรทั้งประเทศ แต่ตัวเลขของคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ (Broadband) หรือ ไฮสปีดอินเตอร์เน็ต (High speed internet) กลับมีอยู่เพียงประมาณ 600,000 – 700,000 คนเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรคาดว่าสิ้นปีนี้ตลาดบรอดแบนด์จะเพิ่มเป็น 1 ล้านครอบครัว หรือราว 4 ล้านคน (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับพิเศษ : Digital Life section อังคารที่ 29 พฤษภาคม) ซึ่งถือว่าเป็นข่าวดีครับ ความเร็วของไฮสปีดอินเตอร์เน็ตในเมืองไทยจะเริ่มตั้งแต่ 256 kbps ไปจนถึง 1 Mbps ซึ่งถือว่าเร็วใช้ได้อยู่ แต่สำหรับบางบ้าน(ที่รู้มากหน่อย) ก็มีการต่อเป็นระบบ LAN เพื่อแชร์อินเตอร์กับคอมเครื่องอื่นๆภายในบ้าน ทำให้ความเร็วจะถูกแชร์ไปตามจำนวนเครื่อง โดยส่วนตัวผมๆมองว่าปัญหานี้มันจะลดน้อยลง(อย่างรวดเร็ว)ไปเองตามการพัฒนาของเทคโนโลยี ยิ่งทรูเองซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทฯที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ร่วมแชร์เค้กชิ้นนี้ด้วยแล้ว เขาคงไม่ปล่อยให้ลูกค้าของเขาต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดที่แสนยาวนานเป็นแน่

ปัจจัยถัดมาที่ผมไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ เทคโนโลยีที่ป้องกันการละเมิดทางด้านลิขสิทธิ์ หรือ ที่เรียกกันว่า DRM (Digital Rights Management) ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นตลาด International หรือ จะเป็นตลาดภายในประเทศ เนื่องมาจากที่เทคโนโลยี DRM นี้ เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ความยุติธรรมกับฝ่ายผู้ผลิตผลงาน (Content owner) ไม่ให้เกิดการทำซ้ำและเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ในทางกลับกัน สำหรับผู้บริโภคนั้น DRM ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีของการเห็นแก่ตัว (แอบเอาความรู้สึกตัวเองมาผสมนิดหน่อยครับ) คำถามของผมคือ DRM เป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยธุรกิจเพลงจริงเหรอ หรือเป็นเทคโนโลยีที่ฆ่าธุรกิจเพลงกันแน่ พอพูดถึงเรื่องนี้ก็หลีกหนีไม่ได้ที่จะต้องยก Apple ขึ้นมาเป็นตัวอย่างอีกครั้ง Apple เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มให้มีการให้บริการดาวน์โหลดโดยไม่มีการป้องกันทางด้านลิขสิทธิ์ หรือ DRM (อีกบริษัทหนึ่งคือ Amazon.com) โดยได้รับความร่วมมือจากค่ายใหญ่จากฝั่งเกาะอังกฤษ EMI ซึ่งมีศิลปินดังๆ อย่างเช่น Coldplay, Norah Jones และ Joss Stone เป็นต้น ซึ่งตอนนี้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ก็เริ่มจะเิดินตาม Apple ที่จะไม่ใช้ DRM ในร้าน Zune Connect เอาหล่ะ เรากลับมาที่ประเทศไทยกันดีกว่าครับ สำหรับฝั่งไทยเองนั้นผู้ให้บริการดาวน์โหลดส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้เทคโนโลยี DRM ยกเว้นค่ายยักใหญ่ฝั่งลาดพร้าวที่อาจหาญขายเพลงดิจิตอลโดยปราศจาก DRM ซึ่งผมต้องขอสารภาพตามตรงว่าผมไม่รู้หรอกว่ามีหรือไม่มี DRM จะขายได้มากกว่ากันเพราะมันยังมีปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เอาเป็นว่าต่อจากนี้ผมจะขอพูด (เขียน) ในมุมมองของผมนะครับ และเช่นเคยครับ ยินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเรามาแชร์ความคิดเห็นกันนะครับ สำหรับผมนั้น DRM เป็นเหมือนเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้คนไปซื้อแผ่นผีครับ ถามว่าทำไมผมถึงพูดอย่างนั้น แน่นอนเพื่อนๆลองคิดซิว่า ถ้าเราดาวน์โหลดเพลงมาฟังใน PC แล้วเกิดอยากนำเพลงออกไปฟังข้างนอก ไม่ว่าจะ burn ลงแผ่น CD หรือจะเอาลงในเครื่องเล่น MP3 แต่เจ้าตัว DRM เนี่ยมันคอยขัดขวางเราอยู่ ทำยังไงหล่ััะครับทีนี้ ส่วนตัวผมๆมีทางเลือกอยู่ 2 ทางครับ คือ ผมก็อาจจะหันไปซื้อเป็น CD มาแทน เพราะเมื่อเราได้ CD มา เราสามารถ convert ให้มาเป็นไฟล์ MP3 ได้ แต่สำหรับบางค่ายหรือบางอัลบั้มที่แม้แต่แผ่น CD ก็มีการป้องกัน เพื่อนๆจะทำยังไงครับ สำหรับผมแน่นอนวิ่งไปหาแผ่นผีมาดีกว่าครับ เพราะสามารถเอาไปใช้กับเครื่องเล่นอะไรก็ได้ ดังที่ คุณ ต่อบุญ พ่วงมหา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ได้กล่าวไว้ว่า การใช้ DRM ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการแก่ผู้ใช้ เพราะเมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดเพลงลง PC แล้วต้องการโหลดใส่เครื่องเล่น MP3 จะไม่สามารถทำได้ ทำให้ผู้ใช้ไม่อยากใช้บริการเพลงดิจิตอล เพราะเสียเงินทั้งที แต่กลับใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า และไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดได้ (ข้อมูลจาก นิตยสาร e.commerce ฉบับ June 2007 Vol.102) สำหรับปัจจัยทางด้าน DRM นั้นผมขอสรุปในมุมมองส่วนตัวนะครับ ผมมองว่ามันคือเทคโนโลยีป้องกันที่กลับมาทำร้ายตัวเอง และเป็นการส่งเสริมธุรกิจเถื่อน


ผมว่าอาทิตย์นี้เรามาพักที่สองปัจจัยนี้ก่อนดีกว่าครับเดี๋ยวมันจะยาวไปมากกว่านี้ แล้วมาอ่านตอนที่ 2 กันอาทิตย์หน้านะครับ ขอบคุณครับ

Comments

  1. รออ่านต่อฮะ อิอิ

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณค่ะที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นกันอีก...มาคิด ๆ ดู บางครั้งก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมบางค่ายหรือบางอัลบั้มต้องใส่เทคโนโลยีที่ใช้ป้องกันการก๊อปปี๊ หรือ DRM ลงไปในแผ่นซีดี / วีซีดี ด้วย...จริงอยู่เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะเท่าที่รู้มาคร่าว ๆ จากการที่ได้นั่งอ่านข่าวตาม Web site บ่อย ๆ ว่าไอ้เทคโนโลยี DRM มันเป็นการแยก Key ออกจาก File หากจะฟังได้ก็ต้องมีทั้ง Key และ File พร้อม ๆ กัน(ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะใช่ทั้งหมดหรือเปล่า)ซึ่งมันซับซ้อนมากสำหรับใครที่คิดจะทำการ Copy แต่ลองคิดดูคนเราถ้าลองคิดที่จะโขมยแล้วมันก็ต้องหาวิธีการถอด Key ให้ได้อยู่ดีอย่างที่รู้กันสมัยนี้เทคโนโลยีก้าวไกลไปถึงไหน ๆ ...
    ในความคิดเห็นของดิฉันไม่ว่าจะเป็น CD / VCD ก็แล้วแต่ถ้าเอามา Copy แล้วไม่ว่าจะฟังหรือเก็บไว้ดูยกตัวอย่างเช่นวีซีดีเนี่ย!!คุณภาพมันจะลดลงไปเรื่อย ๆเรียกได้ว่าต่างจากต้นฉบับอยู่แล้ว(เพราะเคยลองCopyดูแล้วมันไม่ชัด+อารมณ์เสีย +แผ่นกระตุก..เกี่ยวหรือเปล่าไม่รู้..อิอิ)สู้ถ้าเราอยากได้ผลงานนั้นจริง ๆ (ย้ำ!ต้องมีเหตุที่ทำให้อยากได้จริง ๆ )ก็ซื้อเก็บไว้ดีกว่า...(เป็นความเชื่อโดยส่วนตัว)
    **********************************
    แต่อีกหนึ่งมุมมองของอีกหนึ่งค่ายเพลงที่ดิฉันเคยอ่านข่าวเจอใน Web Siteหนึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์ของ" อากู๋ " แห่งแกรมมี่กล่าวว่าเค้ามีความมั่นใจในคุณภาพของงานจึงไม่รอช้าที่จะป้องกันการก๊อปปี๊ผลงานเพลงของแกรมมี่โดยมอบหมายให้คุณ สุวัฒน์ ดำรงชัยธรรม จาก GMMD ผู้ซึ่งดูแลการใส่โปรแกรม DRM( Digital Right Management)เทคโนโลยีที่ใช้ป้องการการ Copy ในทุกแผ่น CD,VCD ที่แกรมมี่ผลิตออกขาย...
    ปล.ก็บอกแล้วว่าเค้ามั่นใจในคุณภาพ!!
    แล้วสรุป..DRM เป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยธุรกิจเพลงจริงหรือเปล่าล่ะ...

    ReplyDelete
  3. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  4. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  5. ขอต่ออีกนี๊ดดด..ตอนแรกคิดว่าจบแล้ว..แต่มีอีกเรื่องที่คุณ np ได้กล่าวไว้ว่า " ค่ายยักใหญ่ฝั่งลาดพร้าวที่อาจหาญขายเพลงดิจิตอลโดยปราศจาก DRM " ...ซึ่งความจริงเมื่อก่อนเขาก็ได้ใส่โปรแกรม DRM ไว้เหมือนกันแต่ ณ เวลานี้ไม่ใช่แล้วเพราะอะไรน่ะหรอคะ...ไม่ทราบหรอกค่ะ...แต่เท่าที่มองถึงสาเหตุโดยเอาความคิดส่วนตัวคิดว่า..จะมาใช้โปรแกรม DRM ต่อไปทำไมในเมื่อจะใส่หรือไม่ใส่เทคโนโลยีป้องกันการก๊อปปี้ไว้ในแผ่นซีดีก็คงไม่ได้ทำให้ยอดขายมันดีขึ้นมากไปกว่านี้และอีกอย่างเค้าอาจจะมองเห็นคุณภาพงานเพลงขององค์กรเค้าเอง( อย่างที่หลาย ๆ คนคงทราบน่ะแหล่ะค่ะเกี่ยวกับผลงานเพลงของศิลปินฝั่งลาดพร้าว..หุหุ)ก็เป็นได้..(หรือเปล่า ?? ) สู้เอาเวลาไปนั่งคิดหาช่องทางสร้างรายได้อย่างอื่นดีกว่า..!!!จริงม๊ะคะ..
    ***************
    ใครมีความคิดเห็นอย่างไรยินดีรับฟังเช่นกัน!!..

    ReplyDelete
  6. ได้อ่านบทความของคุณ NP มาแล้วหลายครั้งนะคะ
    แต่ก็ยังไม่เคยแสดงความคิดเห็น ก็รู้สึกผิดนิดหน่อย ที่แอบอ่านของเขาแล้วไม่เมนท์ แต่สำหรับเรื่องนี้ดิฉันเห็นว่าจะต้องขอออกความความเห็นสักเล็กน้อย ด้วยความที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องพวกนี้ และเทคโนโลยีที่ว่านั้น สำหรับดิฉันแล้วจะสร้างทำไม เราจะเสียเงินดาวน์โหลดเพลงกันทำไมคะ จะเสียเงินซื้อแผ่นทำไม ไม่ว่าจะแผ่น MP3หรือซีดี ที่ถูกกฏหมาย ในเมื่อมีเว็บไซต์มากมายให้โหลดเพลงฟรี สำหรับดิฉันอาศัยเว็บพวกนี้โหลดเพลงเป็นประจำ จะเอาเพลงไหน แค่ขอไปเดี๋ยวเดียวก็ได้(เพราะเจ้าของเว็บเขาจะส่งLinkมาให้เราโหลดกัน)ไม่ใช่ว่าดิฉันจะไม่สนับสนุนคนทำเพลงนะคะแต่ว่าในเมื่อเราได้ฟังเพลงที่เราชอบ โดยที่ไม่ต้องเสียเงิน(เป็นใครจะไม่ชอบคะ)และที่สำคัญที่สุดเพลงๆหนึ่งมีระยะเวลาไม่นาน พอเราฟังไม่กี่ครั้งเราก็เบื่อ แล้วก็อยากฟังเพลงใหม่อยู่ตลอดเวลา แล้วจะเสียเงินซื้อทำไมคะ ดิฉันจึงคิดว่าเทคโนโลยี DRM ไม่ได้ช่วยอะไรเลยจริงๆ คะ

    ReplyDelete

Post a Comment