การเปลี่ยนแปลงของร้านค้าออนไลน์ในประเทศไทย

image ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไปไกล ไปไวจริงๆ และยิ่งมีการเข้ามาของ social network ตั้งแต่สมัย hi5 มาถึง facebook จนมาถึงน้องใหม่ล่าสุด google plus (คือเรามีข้าม social อื่นๆ ไปบ้าง เช่น twitter 4square เป็นต้น) ทำให้การทำธุรกิจบางอย่างเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะ e-commerce ถ้าเป็นเมื่อก่อน ใครจะทำการค้าขายออนไลน์ แต่มีงบน้อยก็สามารถเริ่มจากการไปโพสตามเว็บบอร์ดต่าง เพื่อโฆษณาสินค้า ซึ่งวิธีนี้ฟรีครับไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด วิธีนี้จะเหมาะกับคนที่เพิ่งจะเริ่มต้น มีสินค้าไม่เยอะนัก สามารถ(มีแรง)โพสแต่ละสินค้าที่จะขายได้ แต่วิธีนี้ข้อเสียก็คือ โพสสินค้าของเราจะถูกแทนที่ด้วยโพสใหม่ๆจากคู่แข่งอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะบอร์ดไหนที่มีคนใช้อย่างมหาศาล เช่น Pantip market หรือ Shopping.co.th เป็นต้น และข้อเสียอีกอย่างคือ ด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถทำ Branding ได้เลย ถ้าคิดจะค้าขายระยะยาวแล้วนั้น การใช้วิธีนี้อย่างเดียวไม่เวิร์คแน่นอนครับ

พอมาถึงกลุ่มที่พอมีทุนอยู่บ้าง มีสินค้าอยู่ระดับนึง ก็จะหันมาใช้บริการเว็บสำเร็จรูป เช่น Tarad.com หรือ weloveshopping.com และ อื่นๆ เว็บเหล่านี้จะมี Templateให้เราเอาใช้ได้อย่างง่ายดาย วิธีใช้ก็ไม่ยาก(มากนัก) ด้วยวิธีนี้เอง เราจะสามารถทำธุรกิจระยะยาวกันได้(สักที) เพราะเราสามารถตั้งชื่อร้านของเรา และสามารถสร้าง Brand ของร้าน หรือสินค้าให้เป็นที่รู้จักได้ และยังมีเครื่องมือสำหรับการทำ e-commerce โดยสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นระบบ payment ระบบคลัง และอื่นๆ แต่เนื่องจากยุคนั้น (จนถึงปัจจุบัน) การชำระเงินผ่านทางระบบ online นั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับ หรือเรียกอีกอย่างว่ายังไม่เชื่อใจกันนั่นเอง e-commerce ในประเทศไทยจึงยังไม่เกิดแบบเต็มตัวสักที

และก้าวย่างมาถึงยุค Social network (ปัจจุบัน) ด้วยเครื่องมือเครื่องไม้ที่มีมาให้ ทำให้เดี๋ยวนี้คนเราสามารถเปิดร้านได้โดยไม่มีต้นทุนอะไร ผมจะขอพูดในรูปแบบของ Facebook เลยละกัน จะเห็นว่าหลายๆคนเปิดร้าน online ผ่านระบบ Fan page ของเจ้า Facebook ซึ่งวิธีนี้มีข้อดี(เท่าที่คิดได้)ดังนี้ คือ

1. ฟรี!!

2. ระบบผู้ติดตาม (การกด Like)
3. สามารถ Tag เพื่อนๆในรูปสินค้าได้ ถ้าเรารู้ว้าสินค้าไหนเหมาะกับเพื่อน หรือลูกค้าคนไหน
4. เพื่อนๆและกลุ่มเป้าหมายหลายๆคนมี account Facebook อยู่แล้ว (อาจจะหลงติดกับมากด like ได้)
5. สามารถสร้าง Brand ได้ไม่แพ้การใช้บริการเว็บสำเร็จรูป
6. มีระบบ Stat ให้เช็ค เพื่อสามารถคิดกลยุทธ์ต่างๆนานา
7. Fan page สามารถติด Search engine อย่าง Google ได้ไม่ยาก (ถ้าทำดีๆ)
8. มีการแจ้งผ่านทาง e-mail ได้
9. เมื่อยิ่งมีการโพสเกี่ยวกับการสั่งซื้อ หรือมีการสอบถามเกี่ยวกับสินค้ามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นได้
10. สามารถให้ลูกค้าถ่ายรูปกับสินค้าเอาขึ้นมาแชร์บน Facebook ได้

แต่ใช่ว่าข้อเสียจะไม่มี ข้อเสียของ Fan page ก็มีอยู่เหมือนกัน มาดูกันว่ามีอะไรบ้างนะครับ

1. ไม่มีระบบ Payment มารองรับ (ซึ่งจุดนี้ไม่น่ามีปัญหากับคนไทย เพราะยังไงก็ไม่จ่ายผ่านระบบออนไลน์อยู่ดี)
2. ไม่สามารถจัดรูปแบบหน้าร้านได้ตามต้องการ
3. ระบบ Tag มีข้อดี และเช่นกันก็มีข้อเสีย คือ การสร้างความรำคาญให้กับผู้ถูก Tag
4. เอาแน่เอานอนกับผู้ตั้งกฎใน Facebook ไม่ได้ อยู่ๆเปลี่ยนกฎอะไรใหม่ อาจจะทำให้ไม่สามารถทำร้านค้าออนไลน์ได้เลยก็ได้ เหมือนอย่างที่เคยออกกดไม่ให้กด like สำรหับการเล่นกิจกรรมใดๆ
5. ถ้ามีสินค้าเยอะๆ (เยอะมากๆ) อาจจะทำให้หาสินค้าเก่าๆยาก เพราะส่วนใหญ่สินค้าก็จะโพสอยู่ในส่วนของ “Photo” ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยสินค้าที่มาใหม่
6. ไม่สามารถแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าได้

เอาหล่ะ ก็พูดถึงข้อดี ข้อเสียของ Fan page กันไปพอหอมปากหอมคอละ เขียนไปเขียนมา ข้อดีก็มีเยอะเหมือนกันนะเนี่ย ก็ขอยกตัวอย่างร้านที่เปิดอยู่บน Fan page อย่างเดียว ที่มีตัวเลขคนติดตามที่น่าสนใจ คือร้าน de Veen เป็นร้านขายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ทั้งเสื้อผ้า และเครื่องประดับ ณ. ปัจจุบันมีคน Like อยู่ที่ 15,362 คน เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว ร้านนี้ลงนิตยสาร e-commerce หลายต่อหลายครั้ง เป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จร้านนึงเลยทีเดียว ถามว่าเขาทำอย่างไร … ผมไม่ทราบครับ :p แต่ถ้าถามถึงร้านค้าออนไลน์ของผม ไว้มีโอกาสผมจะเอามาแชร์นะครับ

ครับ! ก็พูดถึงรูปแบบของร้านค้าในแต่ละยุคกันไปพอสมควร เห็นข้อดีข้อเสียกันไปของแต่ละรูปแบบ แต่ถ้าเรามองใหม่ ไม่ยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง แต่มองให้มันเป็นเครื่องมือหล่ะ ไว้คราวหน้าจะมาแชร์ให้อ่านกันนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

Published with Blogger-droid v1.7.4

Comments